วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

◣ สัตว์น้ำเค็ม ( Brine Animals ) ◥

ฟองน้ำทะเล (Marine sponges)


                ฟองน้ำฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเลประเภทหนึ่งมีเซลล์จัดเรียงตัวกันอย่างหลวมๆสองชั้น  รูปร่างมีความต่างกันมาก  บางชนิดแผ่คลุมไปบนพื้นหินและซอกปะการัง  บางชนิดเป็นรูปเจกันคล้ายครก    ขนาดของฟองน้ำมีความแตกต่างกัน   บางชนิดเล็กประมาณ  1  เซนติเมตร  จนถึงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร  อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีพื้นสภาพต่างกัน

                ลำตัวของฟองน้ำนั้นมีรูฟุนขนาดเล็กจำนวนมาก  เป็นช่องให้น้ำไหลเข้าไปในโพรงลำตัวและบุไว้ด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่กินอาหารโดยใช้แส่จับ   ฟองน้ำมีลักษณะอ่อนนุ่ม  ยืดหยุ่นได้  ภายในลำตัวมีโครงค้ำจุนให้คงรูปร่างอยู่ได้ฟองน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเป็นผลแบบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีการแตกหน่อ  แล้วหน่อยังคงติดอยู่กับตัวเดิม  ทำให้มีสมาชิกหลายตัวอยู่ติดกันแผ่ขยายคลุมพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ  ฟองน้ำกินอาหารโดยอาศัยระบบท่อน้ำที่ไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัวและมีเซลล์จับเหยื่อโดยใช้แส่  อาหารที่ปนมากับน้ำได้แก่  สาหร่าย  ไดอะตอม  โปรโตซัว  แบคทีเรีย

                ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มเดียวที่ไม่มีเซลล์ประสาท  ไม่มีอวัยวะหรือโครงสร้างในการรับความรู้สึก  การมองเห็น  การรับรส กลิ่นเสียง    ทั้งยังไม่มีปฎิกริยาตอบสนองใดๆต่อสิ่งกระตุ้นเลย  เว้นแต่บริเวณช่องน้ำออกเท่านั้นที่นักชีววิทยาพบว่ามีการหดและขยายบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารและน้ำที่ไหลผ่านระบบท่อน้ำ  สัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยอยู่กับฟองน้ำ  เช่น กุ้ง  ปู  ใส้เดือนทะเล  ดาวเปราะ  ปลิงทะเล  และจะเก็บกินเศษอาหารที่ติดอยู่ตามผิวลำตัวของฟองน้ำ  เพราะฟองน้ำมีเศษอินทรีย์และจุลินทรีย์ติดอยู่ที่ผิวด้านนอก   นอกจากนี้ปูบางชนิดยังชอบเก็บฟองน้ำไปแบกไว้บนหลังเพื่อใช้เป็นเกาะคุ้มกันทางด้านหลัง  และเมื่อฟองน้ำเจริญต่อไป  ก็อาจคลุมตัวปูจนมองไม่เห็นตัวปูจากทางด้านบน

                ส่วนสัตว์ที่นิยมกินฟองน้ำเป็นอาหารก็คือทากทะเล  ซึ่งฟองน้ำนี้ส่วนมากแล้วไม่มีสัตว์ชนิดใดที่นิยมกินมันเพราะว่าฟองน้ำมีหนามหรือเส้นใยเยอะอีกทั้งยังทีรสชาติที่ไม่น่ากิน  อายุของฟองน้ำแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป  บางชนิดมีอายุพียงฤดูกาลเดียว  บางชนิดอยู่ได้หลายปี

                ฟองน้ำส่วนใหญ่ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ  นอกจากนี้ฟองน้ำยังสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  โดยฟองน้ำแต่ละตัวสร้างเซลล์สืบพันธ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  อยู่ภายในตัวเดียวกันแต่เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองเพศ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

ขนนกทะเล


                ขนนกทะเลจัดอยู่ในกลุ่มซีเลนเตอเรทพวกไฮโตรซัวอาศัยอยู่รวมเป็นโคโลนีที่แตกกิ่งก้านคล้ายกิ่งไม้เล็กๆหรือแตกแขนงคล้ายขนนกตัวขนนกทะเลแต่ละตัวเป็นโพลิปขนาดเล็ก  โพลิปจะกินอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กหรืออินทรียวัตถุที่ล่องลอยอยู่ในทะเล    ขนาดของขนนกมีความแตกต่างกัน  ส่วนใหญ่โคโลนีที่คล้ายกิ่งไม้มีความสูงประมาณ  30  เซนติเมตร  อาศัยเกาะอยู่ตามปะการังต่างๆ   ขนนกทะเลเป็นสัตว์มีพิษหากสัมผัสกับผิวหนังของเรา  จะทำให้เกิดรอยไหม้เป็นผื่นคัน  เนื่องจากเข็มพิษจากโพลิปของขนนกทะเลมีน้ำพิษอยู่ด้วย  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

ปะการังไฟ


                ปะการังไฟเป็นไฮโครซัวชนิดหนึ่งพวกเดียวกับขนนกทะเลและสร้างฐานรองรับเป็นหินปูนแข็งและสร้างฐานรองรับโพลิปเป็นหินปูนแข็ง  ตัวโพลิปปะการังไฟมีรูปร่างสองแบบ    แบบหนึ่งหนึ่งทำหน้าที่จับเหยื่อกินอาหารและมีหนวดเรียกว่าแดดทิลโลซูออยด์  และอีกแบบที่ไม่มีหนวด  มีหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสและสร้างเข็มพิษ   ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว  โพลิปแบบนี้เรียกว่าแดดซิลโซลูออยด์  เมื่อเราไปสัมผัสปะการังไฟ  น้ำพิษจากเข็มพิษจึงทำให้เกิดอาการคันได้

                รูปร่างของปะการังนั้นส่วนใหญ่จะคล้ายกับปะการังก้อน  ปะการังผักกาด  หรือปะการังเขากวาง  ปะการังไฟทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี  กินแพลงตอนและอินทรียวัตถุในน้ำเป็นอาหาร   สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

แมงกระพรุน


                 แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่  200 ชนิด  เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว  ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่ ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้  แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป  แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่  บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร  การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง  ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย  จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน  พัทยา  ระยอง  จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้  รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ  ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป  แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก    เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส  เข็มพิษจะถูกปล่อยออกมาคล้ายฉมวกพุ่งแทงเข้าไปที่ผิวหนังของเหยื่อหรือศัตรู  น้ำพิษที่อยู่ภายในกระเปาะอาจทำให้เหยื่อขนาดเล็กสลบและตายได้    ตามปกติแมงกะพรุนเป็นสัตว์กินเนื้อ  อาหารที่กินได้แก่  ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวทะเลโดยแมงกะพรุนใช้เข็มพิษฆ่าเหยื่อ  และรวบจับใส่ปากเข้าไปย่อยภายในท่อทางเดินอาหาร  ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกคายทางปาก   แมงกะพรุนส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย  แต่ต่างจากรูปร่างภายนอกไม่ปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน  การผสมพันธุ์เกิดโดยตัวผู้สร้างเสปิร์มส่งออกไปผสมกับไข่ตัวเมีย  หรืออาจเป็นการผสมกันภายนอกลำตัว  ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญพัฒนาเป็นตัวอ่อน  ดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนชั่วคราว  แล้วจากนั้นจะว่ายไปเกาะพื้นเปลี่ยนรูปร่างเป็นโพลิปสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวออกเป็นชั้นๆ  หลุดไปเป็นแมงกระพรุนตัวเล็กๆแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มไว้ในเวลาต่อมา  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

ดอกไม้ทะเล


                ดอกๆไม้ทะเลจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก  มีหนวดจำนวนมากเรียงรายกันอยู่ด้านบน  ส่วนทางด้านล่างเป็นฐานใช้ยึดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำ  ขนาดของดอกไม้ทะเลแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตั้งแต่ตัวเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่าครึ่งเมตร  อาหารของดอกไม้ทะเลได้แก่  ปลาหรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นที่ว่ายเข้ามาในระยะที่หนวดจับได้  ดอกไม้ทะเลจะปล่อยนีมาโตซีสออกมาทำให้เหยื่อสลบ  แล้วรวบเข้าปากที่อยู่ตรงกลาง  ดอกไม้ทะเลนั้นจะมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน  บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น  ความเค็มและอุณหภูมิรวมทั้งความสามารถในการอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย  เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหินริมชายฝั่งโดยหดตัวเป็นก้อนกลม  เพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง

                ดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสาหร่ายอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื้อทั้งลำตัวและหนวด  จึงทำให้มีสีเขียวการอยู่รวมกันนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์  เพราะสาหร่ายมีคลอโรฟิลสามารถสังเคราะห์แสงได้   ซึ่งผลจากการสังเคราะห์แสงนั้นจะได้แป้งและออกซิเจน  ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ  ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัยแล้ว  ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเลเป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต  ดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่มักเป็นที่อยู่อาศัยของปลาการ์ตูนและปลาอินเดียแดงและปลาสลิดหินหลายชนิด  เพราะหนวดของดอกไม้ทะเลมีพิษนีมาโตซีสใช้ฆ่าเหยื่อหรือศัตรูได้  ยกเว้นปลาที่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลเท่านั้นที่สร้างเมือกออกมาคลุมลำตัว  สามารถป้องกันพิษจากดอกไม้ทะเลได้

                ดอกไม้ทะเลบางชนิดอาศัยอยู่กับปูเฉฉวนหรือปูป้  เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่ปูยอกให้ดอกไม้ทะเลเกาะอยู่บนหลัง  ดอกไม้ทะเลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยด้านหลัง  เพราะสัตว์ผู้ล่ามักไม่กล้าเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล  ทำให้ปูปลอดภัยส่วนดอกไม้ทะเลได้รับประโยชน์ในการย้ายที่อยู่เพื่อหาอาหาร  และหลีกเลี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  ดอกไม้ทะเลมีการสืบพันธุ์ได้สองวิธีคือ  แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสองตามความยาวจากฐานหนวดลงไปยังฐานยึดเกาะด้านล่างและการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ  โดยดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสองเพศอยู่ภายในตัวเดียวกัน  หรือแยกเป็นตัวผู้และตัวเมีย  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)


กัลปังหา


                กัลปังหา  กัลปังหาเป็นสัตว์ทะเลพวกเดียวกับปะการัง  ทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีแตโพลิปมีหนวดแปดเส้นรอบปาก  หนวดแต่ละเส้นมีแขนงแตกออกคล้ายใบปรงหรือเฟริ์น  กัลปังหากินแปลงตอนเป็นอาหาร  โดยใช้หนวดรวบใส่ปากตรงกลาง  การย่อยเกิดในกระเพาะที่มีลักษณะเป็นถุง  หลังจากย่อยแล้งกากอาหารจะถูกคายออกทางปาก  กัลปังหานั้นจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำเท่านั้นเพราะต้องการยึดเกาะกับพื้นแข็งแต่จะไม่สามารถงอกอยู่ที่พื้นทรายหรือโคนได้  และการที่กัลปังหามีการแตกกิ่งก้านออกไป  สัตว์หลายชนิดจึงมักมาอาศัยพึงพาอยู่กับกัลปังหา เช่นปลาสลิดหินขนาดเล็ก  ใช้เป็นที่หลบกำบังศัตรู  หอยสองกาบใช้กัลปังหาเป็นที่ยึดเกาะ  ดาวตาข่าย  ดาวขนนก  กุ้งขนาดเล็ก  ใช้กัลปังหาเป็นที่เกาะสำหรับคอยดักจับอาหารที่ลอยมากับน้ำ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

(ที่มา: สนิท อักษรแก้ว,2541) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น